ประวัติมหาวิทยาลัย

ประวัติมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นเดิมชื่อ มหาวิทยาลัยณิวัฒนา ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งตามใบอนุญาตจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ ๒/๒๕๔๐ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย) เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๔๐ เป็นสถาบันการศึกษาระดับ อุดมศึกษาเอกชนที่ได้สถาปนาขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชโองการโปรดเกล้าสถาปนาพระอิสริยศักดิ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน เฉลิมพระนามเป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 

โดยมีเป้าหมายเพื่อรองรับการเจริญเติบโตในเขตภูมิภาคของภาคกลางและเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาสู่ภูมิภาคของประเทศในการส่งเสริมการพัฒนาทาง ด้านทรัพยากรมนุษย์ของประเทศชาติ โดยมีภารกิจหลัก ๔ ประการคือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางด้านทรัพยากรมนุษย์ของประเทศชาติ และประการสำคัญคือเพื่อตอบสนองความต้องการของชาติในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่พรั่งพร้อมด้วยความเป็นเลิศทางวิชาการ มีทักษะขั้นสูงในการประกอบอาชีพ และกอปรด้วยคุณธรรม จริยธรรม

วิสัยทัศน์และพันธกิจ

วิสัยทัศน์ 
เป็นสถาบันอุดมศีกษาที่พัฒนานิสิตให้เป็นศึกษิตที่กอร์ปด้วยคุณธรรม จริยธรรม และสร้างสรรค์สังคม

พันธกิจ 
มีพันธกิจหลักเช่นเดียวกับสถาบันอุดมศึกษา และมหาวิทยาลัยอื่นๆ กล่าวคือ     ในด้านการจัดการเรียนการสอน การผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมและจริยธรรมที่พึงประสงค์ การวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่จะมุ่งมั่นพัฒนาภาวะผู้นำ ปลูกจิตสำนึกในเรื่องการใฝ่การศึกษาทั้งตามรูปแบบการศึกษาในสถาบันและการศึกษาด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การอบรมบ่มนิสัยนิสิตแต่ละคนให้เจริญเติบโตเป็นผู้มีวินัย ซื่อสัตย์ ยึดมั่นในรากฐานการดำเนินชีวิตที่ดีงาม รู้จักตนเอง และรู้จักผู้อื่น ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าและเสียสละ รับผิดชอบต่อสังคม มีพลานามัยสมบูรณ์ เคารพกฎหมายและเป็นศึกษิตที่มีความสามารถ เป็นพลเมืองดีของชาติและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ปรัชญาและปณิธาน

ปรัชญา 
กำหนดปรัชญาในการดำเนินงาน คือ“มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้วยพลังความคิด”


ปณิธาน
 
มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาบุคลากร ระบบการศึกษา และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นสู่ความเป็นเลิศทางคุณภาพการศึกษา สร้างคลังแห่งขุมปัญญาที่จะพัฒนาบุคคลให้เป็นศึกษิต คือ บัณฑิตที่เป็นปัญญาชน มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตน สังคม ประเทศชาติ และมนุษยชาติในที่สุด ด้วยอุดมการณ์แห่งความร่วมมือยิ่งกว่าการแข่งขัน

ความเป็นมา

มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นได้เปิดดำเนินการสอนหลักสูตรดังนี้ หลักสูตรประกาศนียบัตร 3 หลักสูตร ดังนี้
  1. หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยทันตแพทย์
  2. หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยนักวิทยาศาสตร์การแพทย์
  3. หลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล
ปริญญาตรี 13 คณะวิชาดังน้ี
  1. คณะทันตแพทยศาสตร์
  2. คณะสัตวแพทยศาสตร์
  3. คณะเทคนิคการแพทย์
  4. คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตกาญจนบุรี
  5. คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตวัชรพล
  6. คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตบุรีรัมย์
  7. คณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาเขตกาญจนบุรี
  8. คณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาเขตบุรีรัมย์
  9. คณะวิศวกรรมศาสตร์
  10. คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
  11. คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
    • 11.1 สาขาบัญชี
    • 11.2 สาขาการตลาด
    • 11.3 สาขาการจัดการ
    • 11.4 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
    • 11.5 สาขาอุตสาหกรรมบริการ
  12. คณะนิติศาสตร์
  13. วิทยาลัยการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย
ปริญญาโท 5 หลักสูตร ดังนี้
  1. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
  2. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
    • 2.1 สาขาการบริหารการศึกษา
    • 2.2 สาขาหลักสูตรและการสอน
  3. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารงานสาธารณสุข
  4. หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
  5. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
    • 5.1 สาขาบัญชีและการเงิน
    • 5.2 สาขาการจัดการและการตลาด
ปริญญาเอก 5 หลักสูตร ดังนี้
  1. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  2. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  3. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานสาธารณสุข
  4. หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต
  5. หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต
ก้าวแรกของมหาวิทยาลัย ๒๕๓๙-๒๕๔๙
๒๕๓๙
ผู้รับใบอนุญาตได้ยื่นเรื่องขอจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน “มหาวิทยาลัยณิวัฒนา” ต่อสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ทบวงมหาวิทยาลัย) ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๘ ที่มีวัตถุประสงค์ให้องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน ชุมชน และประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาประเทศมากขึ้น
 ๒๕๔๐
มหาวิทยาลัยได้รับอนุญาตจัดตั้งเป็น “มหาวิทยาลัยณิวัฒนา” ตามใบอนุญาตจัดตั้งสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนที่ ๒/๒๕๔๐ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย) เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๔๐
 ๒๕๔๑
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเปิดมหาวิทยาลัยณิวัฒนาอย่างเป็นทางการ มหาวิทยาลัยได้รับการรับรองวิทยฐานะระดับปริญญาตรี และปริญญาโทจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย) แต่งตั้งคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มหาวิทยาลัยได้เปิดดำเนินการสอนในหลักสูตรระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๘ ที่มีวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างศักยภาพของคนทุกคนให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ และสามารถปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการปกครอง รวมทั้งเปิดโอกาสให้องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน ชุมชน และประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาประเทศมากขึ้น ดังนี้
 
๑. คณะบริหารธุรกิจ
– หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๑)
– หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๑)
– หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๑)
– หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๑)
– หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๑)
– หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๑)
๒. คณะนิติศาสตร์
– หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๑)
๓. คณะรัฐศาสตร์
– หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๑)
๔. คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
– หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๑)
– หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๑)
– หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๒)
๕. บัณฑิตวิทยาลัย
– หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๑)
– หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๑)
– หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๑)
องค์กรวิชาชีพให้การรับรองหลักสูตร
สภาการบัญชีให้การรับรอง
– หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
สภาวิศวกรให้การรับรอง
– หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
เนติบัณฑิตไทยให้การรับรอง
– หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
ครุสภาให้การรับรองศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
– สาขาวิชาบริหารการศึกษา
 ๒๕๔๒
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จพระดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยณิวัฒนาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๒
 ๒๕๔๔
มหาวิทยาลัยณิวัฒนา เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๒๘ ระหว่างวันที่ ๗ – ๑๔ มกราคม ๒๕๔๔ โดยมีการจัดการแข่งขัน ๑๘ ชนิดกีฬา กีฬาสาธิต ๑ ชนิดกีฬา มีการชิงชัยทั้งสิ้น ๑๘๖ เหรียญทอง นับเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
 ๒๕๔๖
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จประทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยณิวัฒนา
 ๒๕๔๗
ได้เปลี่ยนชื่อจาก “มหาวิทยาลัยณิวัฒนา” เป็น “มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น” ตามประกาศกระทรวง ศึกษาธิการ เรื่องการเปลี่ยนชื่อสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตั้งแต่วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๗
 ๒๕๔๘
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ได้ให้การรับรองมาตรฐานและคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย ในการประเมินคุณภาพการศึกษารอบที่หนึ่งในระดับดี ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
การพัฒนามหาวิทยาลัย ๒๕๕๐-๒๕๕๕

๒๕๕๐

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้การรับรองวิทยฐานะระดับปริญญาเอก ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย อนุมัติให้เปิดดำเนินการจัดการศึกษาหลักสูตรทั้งระดับปริญญาเอก ปริญญาโทและปริญญาตรี ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาการอุดมศึกษา ฉบับที่ ๙ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งขาติ ฉบับที่ ๑๐ ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคนให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะการประกอบอาชีพ ก่อให้เกิดมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต และขยายโอกาสทางการศึกษา ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายทั้งกลุ่มผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานและกลุ่มผู้ทำงานทั้งในและนอกสถานประกอบการ กอปรกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านสุขภาพ เพื่อรองรับการปฏิรูประบบบริการสุขภาพของภาครัฐ ที่มีเป้าหมายเพื่อให้ปะชาชนได้รับบริการด้านสุขภาพอนามัยอย่างเสมอภาคกัน ดังนี้
๑. บัณฑิตวิทยาลัย
– หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๐)
– หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๐)
– หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๐)
– หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารสาธารณสุข (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๐)
๒. คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
– หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป (ระบบการศึกษาทางไกล) (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๐)
– หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด (ระบบการศึกษาทางไกล) (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๐)
– หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (ระบบการศึกษาทางไกล) (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๐)
๓. คณะพยาบาลศาสตร์ กาญจนบุรี
– หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๐)
องค์กรวิชาชีพให้การรับรองหลักสูตร
สภาการพยาบาล ให้การรับรองหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ของคณะพยาบาลศาสตร์กาญจนบุรี ตามข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ระดับวิชาชีพ พ.ศ.๒๕๔๕ และข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการรับรองสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓

 ๒๕๕๑

มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นได้ทำความร่วมมือกับธนาคารออมสินในการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการศึกษา สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น โดยผู้บริหารทั้งสองหน่วยงานได้ลงนามบันทึกความร่วมมือในวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ณ ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย อนุมัติให้มหาวิทยาลัยดำเนินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ที่มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วัชรพล ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐และกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการศึกษา นอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๑
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย อนุมัติให้มหาวิทยาลัยดำเนินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ที่ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น บุรีรัมย์ ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ตามพระราชบัญญัติสถาบัน อุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ และกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๑
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย อนุมัติให้เปิดดำเนินการจัดการศึกษาหลักสูตรทั้งระดับปริญญาเอก ปริญญาโทและปริญญาตรี ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาการอุดมศึกษา ฉบับที่ ๙ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งขาติ ฉบับที่ ๑๐ ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคนให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะการประกอบอาชีพ ก่อให้เกิดมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต และขยายโอกาสทางการศึกษา ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายทั้งกลุ่มผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานและกลุ่มผู้ทำงานทั้งในและนอกสถานประกอบการ ดังนี้
๑. บัณฑิตวิทยาลัย
– หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา(หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๑)
– หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (ระบบการศึกษาทางไกล) (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๑)
– หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (ระบบการศึกษาทางไกล) (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๑)
๒. คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
– หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมบริการ (ระบบการศึกษาทางไกล) (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๑)
– หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (ระบบการศึกษาทางไกล) (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๑)
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ได้ให้การรับรองมาตรฐานและคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย ในการประเมินคุณภาพการศึกษารอบที่สองในระดับดี ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒

 ๒๕๕๒

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย อนุมัติให้เปิดดำเนินการจัดการศึกษาหลักสูตรทั้งระดับปริญญาเอก ปริญญาโทและปริญญาตรี ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาการอุดมศึกษา ฉบับที่ ๙ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งขาติ ฉบับที่ ๑๐ ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคนให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะการประกอบอาชีพ ก่อให้เกิดมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต และขยายโอกาสทางการศึกษา ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายทั้งกลุ่มผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานและกลุ่มผู้ทำงานทั้งในและนอกสถานประกอบการ กอปรกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านสุขภาพ เพื่อรองรับการปฏิรูประบบบริการสุขภาพของภาครัฐ ที่มีเป้าหมายเพื่อให้ปะชาชนได้รับบริการด้านสุขภาพอนามัยอย่างเสมอภาคกัน ดังนี้
๑. คณะทันตแพทยศาสตร์
 – หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๒)
๒. คณะสัตวแพทยศาสตร์
 – หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๒)
๓. คณะเทคนิคการแพทย์
  – หลักสูตรเทคนิคการแพทยบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๒)
๔. คณะพยาบาลศาสตร์ วัชรพล
  – หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๑)
๕. บัณฑิตวิทยาลัย
  – หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๒)
  – หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหางานวิศวกรรม (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๒)
  – หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (ระบบการศึกษาทางไกล) (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๒)
  – หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานสาธารณสุข (ระบบการศึกษาทางไกล) (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๒)
๖. คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
  – หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (ระบบการศึกษาทางไกล) (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๒)
๗. คณะสาธารณสุขศาสตร์
 – หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๒)
องค์กรวิชาชีพให้การรับรองหลักสูตรสภาการพยาบาล ให้การรับรองหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ของคณะพยาบาลศาสตร์ วัชรพล ตามข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ระดับวิชาชีพ พ.ศ.๒๕๔๕ และข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการรับรองสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓

๒๕๕๓

พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุเสด็จประทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร กรุงเทพฯ
มหาวิทยาลัยได้ทูลเกล้าถวายปริญญาพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ ด้วยพระกรณียกิจที่ทรงบำเพ็ญเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรอย่างอเนกอนันต์
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย อนุมัติให้เปิดดำเนินการจัดการศึกษาหลักสูตร ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาการอุดมศึกษา ฉบับที่ ๙ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งขาติ ฉบับที่ ๑๐ ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคนให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะการประกอบอาชีพ ก่อให้เกิดมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต และขยายโอกาสทางการศึกษา ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายทั้งกลุ่มผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานและกลุ่มผู้ทำงานทั้งในและนอกสถานประกอบการ กอปรกับปัญหาการ ขาดแคลนบุคลากรด้านสุขภาพ เพื่อรองรับการปฏิรูประบบบริการสุขภาพของภาครัฐ ที่มีเป้าหมายเพื่อให้ปะชาชนได้รับบริการด้านสุขภาพอนามัยอย่างเสมอภาคกัน ดังนี้
๑. คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์
  – หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ระบบการศึกษาทางไกล) (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๓)
๒. คณะสาธารณสุขศาสตร์
  – หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ระบบการศึกษาทางไกล) (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๓) ๒๕๕๔

 ๒๕๕๔

มหาวิทยาลัยได้ทูลเกล้าถวายปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่ ร้อยเอกหญิงพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย อนุมัติให้เปิดดำเนินการจัดการศึกษาหลักสูตรทั้งระดับปริญญาเอกปริญญาโทและปริญญาตรี ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาการอุดมศึกษา ฉบับที่ ๙ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งขาติ ฉบับที่ ๑๐ ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคนให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะการประกอบอาชีพ ก่อให้เกิดมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต และขยายโอกาสทางการศึกษา ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายทั้งกลุ่มผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานและกลุ่มผู้ทำงานทั้งในและนอกสถานประกอบการ กอปรกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านสุขภาพ เพื่อรองรับการปฏิรูประบบบริการสุขภาพของภาครัฐ ที่มีเป้าหมายเพื่อให้ปะชาชนได้รับบริการด้านสุขภาพอนามัยอย่างเสมอภาคกัน ดังนี้
๑. บัณฑิตวิทยาลัย
  – หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๔)
  – หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ระบบการศึกษาทางไกล) (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๔)
  – หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต(ระบบการศึกษาทางไกล) (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๔)
๒. คณะเทคนิคการแพทย์
  – หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๔)
  – คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย อนุมัติให้คณะพยาบาลศาสตร์ วัชรพล รับเยียวยานิสิตสาขาพยาบาลศาสตร์     – จากวิทยาลัยนครราชสีมา ตามโครงการของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสภาการพยาบาล
องค์กรวิชาชีพให้การรับรองหลักสูตร
สภาเทคนิคการแพทย์ ให้การรับรองหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคนิคการแพทย์ ตามข้อบังคับสภาเทคนิคการแพทย์ว่าด้วยการรับรองปริญญาในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ของสถาบันต่างๆ เพื่อประโยชน์การสมัครเป็นสมาชิก พ.ศ. ๒๕๕๓ ๒๕๕๕

 ๒๕๕๕

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย อนุมัติให้เปิดดำเนินการจัดการศึกษาหลักสูตร ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาการอุดมศึกษา ฉบับที่ ๙ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งขาติ ฉบับที่ ๑๐ ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคนให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะการประกอบอาชีพ กอปรกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านสุขภาพ เพื่อรองรับการปฏิรูประบบบริการสุขภาพของภาครัฐ ที่มีเป้าหมายเพื่อให้ปะชาชนได้รับบริการด้านสุขภาพอนามัยอย่างเสมอภาคกัน ดังนี้
๑. คณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์
  – หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๔)
  – คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย อนุมัติให้คณะสัตวแพทยศาสตร์ เปิดดำเนินการโรงพยาบาลสัตว์ใหญ่และโรงพยาบาลสัตว์เล็ก เพื่อการเรียนการสอน
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ได้ให้การรับรองมาตรฐานและคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย ในการประเมินคุณภาพการศึกษารอบที่สามในระดับดี ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยได้ให้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในโครงการเยียวยานิสิตจากมหาวิทยาลัยอีสาน เข้าศึกษาในระดับปริญญาโทและระดับปริญญาตรี หลายสาขาวิชา
สภาการพยาบาล ได้ให้ความเห็นชอบให้คณะพยาบาลศาสตร์ วัชรพล และคณะพยาบาลศาสตร์ กาญจนบุรี ในโครงการเยียวยานิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสาน
องค์กรวิชาชีพให้การรับรองหลักสูตร
สภาการพยาบาล ให้การรับรองหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ของคณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ ตามข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ระดับวิชาชีพ พ.ศ.๒๕๔๕ และข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการรับรองสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
สัตวแพทยสภา ให้การรับรองหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต ตามข้อบังคับสัตวแพทยสภา ว่าด้วยการรับรองปริญญาในวิชาชีพการสัตวแพทย์ของสถาบันการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๒
ทันตแพทยสภา ให้การรับรองหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ตามข้อบังคับทันตแพทยสภาว่าด้วยการรับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพทันตกรรมของสถาบันต่างๆ เพื่อประโยชน์การสมัครเป็นสมาชิกทันตแพทยสภา พ.ศ. ๒๕๕๓
 
มุ่งพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ๒๕๕๖-ปัจจุบัน

๒๕๕๖ – ปัจจุบัน

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย อนุมัติให้คณะทันตแพทยศาสตร์ เปิดดำเนินการโรงพยาบาลทันตกรรมที่มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล และได้เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตร 3 หลักสูตร ได้แก่
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยทันตแพทย์
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยนักวิทยาศาสตร์การแพทย์